อันตรายจากการไม่ใช้ คาร์ซีท (CARSEAT)
เคยมีกรณีดาราสาวโพสต์ภาพนำ
ลูกแรกเกิดนั่ง Carseat โดยที่การหันทิศ Carseat เป็นไปในทิศทางที่หัวเด็กหันไปทางหน้ารถ ซึ่งเป็นวิธีการติดตั้ง Carseat สำหรับเด็กทารกที่ถูกต้องตามหลักความปลอดภัยสากลแล้ว แต่กลับมีผู้ไม่เข้าใจ ไปแสดงความคิดเห็นว่าเธอทำไม่ถูก.. สรุปแล้วว่าการติดตั้ง Carseat ควรทำอย่างไรกันแน่?
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อมูลว่าการติดตั้ง Carseat จะช่วยลดการบาดเจ็บจากอุบัตเหตุ สูงถึง 60% จากจำนวนเด็กที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ การกระเด็นออกจากตัวรถ ร่างกายจะได้รับแรงกระแทกจากความเร็วของรถที่แล่นมาด้วยความเร็วสูงจากทั้งคันที่นั่งมาและจากคู่กรณี อาการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์ ได้แก่
•กระดูกศีรษะได้รับบาดเจ็บ
•กระดูกสันหลังเสียหาย
•กระดูกทิ่มปอด
•อวัยวะภายในเสียหาย เช่น ตับแตก, ม้ามแตก เป็นต้น
ซึ่งอุบัติเหตุเหล่านี้ Carseat เป็นตัวช่วยลดการบาดเจ็บ และลดการเสียชีวิตสูงในเด็กถึง 120 คน ต่อปี โดยสายรัดและสายคาดเอวจะช่วยลดการกระเด็นออกจากที่นั่งได้
เป็นที่น่าเสียดายว่าตามความเข้าใจผิดของคนไทยที่มีมานาน เมื่อต้องเดินทางด้วยรถยนต์จะจัดที่นั่ง Carseat ให้แก่เด็กที่เริ่มโตแล้ว ส่วนเด็กทารกก็นำมาอุ้มกอดไว้เสียเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด ในไทยเรานี้มีผู้ที่ออกมารณรงค์เกี่ยวกับการใช้ Carseat อย่างจริงจัง คือ ศูนย์เสริมสร้างความปลอดภัยในเด็ก โดยเผยแพร่วิธีการใช้ที่นั่ง Carseat ที่ถูกต้อง
วิธีการใช้ Carseat ที่ถูกต้อง
1. ติดตั้งเบาะ Carseat ในประตูรถฝั่งที่ติดตั้งระบบล็อคป้องกันเด็กเปิดประตูเองอัตโนมัติ เพราะนิ้วมือของเด็กอาจจะเลื่อนเปิดประตูเองได้
2. เก็บของเล่นเด็ก หรือวัสดุชิ้นเล็กชิ้นน้อยให้ไกลจากบริเวณที่นั่ง เพราะอาจกระเด็นเป็นอันตรายได้ แต่หากเด็กขาดไม่ได้ ควรหาเป็นตุ๊กตานิ่ม ๆ ตัวเล็ก ๆ ให้เด็กถือว่า
3. ไม่ทิ้งให้เด็กอยู่บนที่นั่ง Carseat เพียงลำพังคนเดียวบนรถทุกกรณี
4. หากมีเด็กโดยสารมากกว่า 1 คน ไม่ควรปล่อยให้เด็กอยู่ด้วยกัน เพราะอาจจะเล่นกันจนเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น พี่ไปปลดสายรัดให้น้องโดยที่ผู้ใหญ่ไม่เห็น เป็นต้น
5. หมั่นตรวจเช็คประตูฝั่งที่นั่ง Carseat อยู่เสมอ ทุกครั้งก่อนออกรถ อย่าวางใจว่าตั้งค่าล็อคอัตโนมัติแล้วจะปลอดภัย เพราะอาจจะมีใครเผลอไปปลดล็อคก็ได้
นอกจากนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ไม่ควรละเลย
“เข็มขัดนิรภัย” โดยคุณหมอแนะนำว่า ให้คาดเข็มขัดโดยจัดสายรัดให้อยู่ที่ใต้ท้อง และ คาดกลางหน้าอก เพื่อไม่ให้อึดอัด และไม่รัดท้องจนหายใจไม่ออก ไม่ว่าจะนั่งด้านข้างคนขับ หรือนั่งด้านหลัง คุณแม่ก็ควรคาดเข็มขัดนิรภัยเพื่อความปลอดภัยนี้ด้วยเสมอ!
ข้อมูลจาก :
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
READ MORE :