19/05/63

|

อ่านแล้ว 1,716 ครั้ง

โรคชิคุนกุนยากับไข้เลือดออก ต่างกันยังไง

ความแตกต่างระหว่างไข้เลือดออก กับ ชิคุนกุนยา     

     โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งถูกแพร่กระจายโดยยุงลายบ้าน และยุงลายสวน มีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออก แต่โรคไข้เลือดออกจะรุนแรงมากกว่า แล้วโรคชิคุนกุนยา ต่างจากโรคไข้เลือดออกอย่างไร วันนี้พี่หมี TQM มีคำตอบมาฝากครับ

     กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธาณสุข เปิดเผยว่าสถานการณ์ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา ในปี 2563 พบผู้ป่วยแล้ว 3,258 ราย จาก 56 จังหวัด ไม่พบผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับคือ 25-34 ปี ร้อยละ 18.17 อายุ 35-44ปี ร้อยละ 17.46 และอายุ 45-54 ปี ร้อยละ 16.02 ตามลำดับ ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราการป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด 5 อันดับแรกคือ จันทบุรี อุทัยธานี ลำพูน ระยอง ตราด ตามลำดับ

เกี่ยวกับโรค

     โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะ โดยผู้ป่วยมักมีไข้และปวดข้อต่อ ซึ่งอาการของโรคนี้จะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง

     ไข้เลือดออก (Dengue Fever) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) ที่แพร่สู่ร่างกายคนจากการกัดของยุงลายตัวเมีย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีอาการป่วยรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา 

อาการของโรค

     โรคชิคุนกุนยา มีไข้และปวดข้อต่อ ผู้ป่วยอาจอ่อนเพลีย ปวดหัว คลื่นไส้ ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อบวม และมีผื่นขึ้นด้วย ซึ่งอาการอาจเกิดขึ้นหลังจากโดนยุงที่ติดเชื้อกัด 3-7 วัน โดยอาการของโรคมักคล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่

     ไข้เลือดออก อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดทั่วไป มีไข้สูงมาก ปวดหัวมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วลำตัว ในบางรายอาจคลื่นไส้อาเจียน อาจพบผื่นแดงหรือจ้ำเลือดใต้ผิวหนังทั่วตัว

อาการแทรกซ้อนของโรค

     โรคชิคุนกุนยา ผู้ป่วยอาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น มีแผลตุ่มน้ำที่ผิวหนัง มีเลือดออก ม่านตาอักเสบ จอตาอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับอักเสบ ไตอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองและไขสันหลังอักเสบ เส้นประสาทสมองเป็นอัมพาต และกลุ่มอาการกิลแลงบาร์เร เป็นต้น

     โรคไข้เลือดออก อาจพัฒนาความรุนแรงไปสู่ภาวะโรค Dengue Hemorrhagic Fever ซึ่งจะทำให้มีไข้สูงขึ้น อาการปวดหัวรุนแรงขึ้น อาจมีภาวะเลือดออกตามเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน และ Dengue Shock Syndrome ซึ่งเป็นภาวะที่เสียเลือดมาก พลาสมารั่ว ความดันโลหิตต่ำ นำไปสู่การช็อกที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

การรักษาโรค

     โรคชิคุนกุนยา ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีน ยา หรือวิธีรักษาโรคชิคุนกุนยาแบบเฉพาะเจาะจง แต่ผู้ป่วยอาจบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคนี้ได้ด้วยการดื่มน้ำเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ พักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงรับประทานยาเพื่อลดไข้และบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรรับประทานยาแอสไพรินหรือยาต้านการอักเสบจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่ได้เป็นไข้เลือดออก เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกผิดปกติ 

     โรคไข้เลือดออก การรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกนั้นยังไม่มียารักษาเฉพาะโรค เป็นเพียงการรักษาประคับประคองตามอาการ  เบื้องต้นจึงใช้ยาระงับอาการ คือ Acetaminophen หรือพาราเซตามอล ซึ่งเป็นยาแก้ปวดและลดไข้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ซึ่งจะมีผลต่อเซลล์เม็ดเลือด อาจกระทบต่อภาวะที่มีเลือดออกซึ่งทำให้อาการแย่ลงได้

     เนื่องจากยุงลายสามารถนำโรคได้ทั้ง ไข้เลือดออก และ โรคชิคุนกุนยา ดังนั้น การดูแลตนเอง เพื่อไม่ให้ถูกยุงลายกัดก็จะช่วยป้องกันการป่วยได้ทั้งไข้เลือดออก และโรคติดเชื้อชิคุนกุนยา และเพิ่มความอุ่นใจด้วยประกันไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออก และโรคร้ายจากยุง  คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล พร้อมเงินชดเชยรายวัน สนใจคลิกเลย ประกันไข้หวัดใหญ่ไข้เลือดออก และ โรคร้ายจากยุง หรือสอบถามข้อมูลประกันภัยเพิ่มเติมที่ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมงครับ

READ MORE : 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล